เมนู

10. จตุตถอนาคตสูตร


ว่าด้วยภัยในอนาคต 5 ประการ


[80] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ซึ่งยังไม่
บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้
เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น 5 ประการเป็นไฉน คือ
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม
ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและ
ป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่
สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน
อนาคตข้อที่ 1 นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้น
อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาต
ที่ดีงาม
เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น
วัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และ
ราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหา
อันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ 2 นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน
กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ
ภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะ
ดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละ
เสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี

และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่ง
เสนาสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ 3 นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดใน
บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว
พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วย
ภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส
เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นาง-
สิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดี
ประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขา
เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ 4 นี้ ซึ่ง
ยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้
ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารา-
มิกบุรุษ และสมณุทเทส
เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี
ประการต่าง ๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียว
บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ 5 นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
พยายามเพื่อละภัยนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.
จบจตุตถอนาคตสูตรที่ 10
จบโยธาชีววรรคที่ 3

อรรถกถาจตุตถอนาคตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถอนาคตสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กลฺยาณกามา แปลว่า ผู้มีความต้องการอันดี. บทว่า
รสคฺคานิ ได้แก่ รสยอดเยี่ยม. บทว่า สํสฏฺฐา วิหริสฺสนฺติ ได้แก่
จักอยู่ระคนด้วยสังสัคคะการระคน 5 อย่าง. บทว่า สนฺธิธิการปริโภคํ ได้แก่
บริโภคของที่ทำสันนิธิ [สั่งสมไว้ผิดวินัย]. ในบทว่า โอฬาริกํปิ นิมิตฺตํ
นี้ ภิกษุขุดดินเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ชื่อว่า ทำนิมิตอย่างหยาบในแผ่นดิน.
ภิกษุตัดเองก็ดี ใช้ให้เขาตัดก็ดี ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ชื่อว่า ทำนิมิตอย่าง
หยาบในของสดเขียว. ภิกษุให้เขาถือเอาใบไม้และผักเป็นต้น เก็บไว้เองก็ดี
ใช้ให้เขาเก็บไว้ก็ดี ซึ่งผลไม้เพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่จำต้องกล่าวกันละ. ในพระสูตร
ทั้ง 4 นี้ พระศาสดาตรัสความเจริญและความเสื่อมในพระศาสนาไว้.
จบอรรถกถาจตุตถอนาคตสูตรที่ 10
จบโยธาชีววรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมเจโตวิมุตติสูตร 2. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร 3. ปฐมธรรม-
วิหาริกสูตร 4. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร 5. ปฐมโยธาชีวสูตร 6. ทุติย-
โยธาชีวสูตร 7. ปฐมอนาคตสูตร 8. ทุติยอนาคตสูตร 9. ตติยอนาคตสูตร
10. จตุตถอนาคตสูตร และอรรถกถา.